ISO 9001
เป้าหมายของ“องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน” หรือ ISO (International Organization for Standardization : ISO) คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาของการผลิต การค้า และการสื่อสาร ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆทั่วโลก สมาพันธ์สากลอันประกอบด้วยสมาชิก 164 องค์กรนี้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยการจัดทำและพัฒนามาตรฐานต่างๆด้านการบริหารจัดการคุณภาพแบบสมัครใจซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าในระดับสากล การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และสนับสนุนให้เกิดแนวปฎิบัติทางธุรกิจที่ดี
เป้าหมายของ“องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน” หรือ ISO (International Organization for Standardization : ISO) คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาของการผลิต การค้า และการสื่อสาร ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆทั่วโลก สมาพันธ์สากลอันประกอบด้วยสมาชิก 164 องค์กรนี้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยการจัดทำและพัฒนามาตรฐานต่างๆด้านการบริหารจัดการคุณภาพแบบสมัครใจซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าในระดับสากล การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และสนับสนุนให้เกิดแนวปฎิบัติทางธุรกิจที่ดี
สำหรับมาตรฐาน ISO 9000 ฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด คาดการณ์ว่าจะได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาภายในปลายปี ค.ศ.2015 มาตรฐาน ISO 9001:2015 นี้จะยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกระบวนการ และสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานนี้จะยังประโยชน์ในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือเกินกว่านั้น นอกจากนี้มาตรฐาน ISO 9001 เวอร์ชั่นปี 2015 นี้จะสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงไปของวิธีการดำเนินงานทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่ได้มีการแก้ไขในเวอร์ชั่นปี 2008 โดยในเวอร์ชั่นใหม่นี้ ภาษาและคำที่ใช้จะกว้างพอ
ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอกและเป็นกลางซึ่งเรียกว่า หน่วยรับรอง จะดำเนินการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการเพื่อพิจารณาตัดสินว่าองค์กรนั้นๆมีความสอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่ หากพบว่าองค์กรนั้นมีความสอดคล้องกับมาตรฐาน องค์กรดังกล่าวจะได้รับใบรับรองซึ่งแสดงที่อยู่ ขอบข่ายการดำเนินงาน และตราประทับขององค์กรผู้ให้การรับรองระบบงานซึ่งมอบสิทธิตามกฎหมายให้แก่หน่วยรับรอง
PJR ได้รับการรับรองระบบงานจาก ANAB, UKAS, JAB, INMETRO และ ACCREDIA ให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนรับรองระบบตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ให้แก่องค์กรลูกค้าได้
ISO 9000 คืออะไร
คุณภาพคือสิ่งที่ทุกบริษัทมุ่งมั่นและพยายามเพื่อให้ได้มา และมักจะพบว่าเป็นเวลาที่ยากลำบากมากในการที่จะบรรลุถึงความ ต้องการนั้น เนื่องจากมักมีปัญหาความซับซ้อนเกี่ยวกับประสิทธิภาพและคุณภาพในการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการ หาเอกสารสำคัญไม่พบ หรือผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามความคาดหวังของพวกเขา บริษัทจะสามารถเพิ่มคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์และบริการของตนได้อย่างไร คำตอบคือ การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000
ในบรรดามาตรฐานต่างๆ มาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุด ISO 9000 ISO 9000 คือมาตรฐาน การบริหารงานคุณภาพ ที่ให้แนวทางต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและความพึงพอใจของลูกค้า เป้าหมายของมาตรฐาน ISO 9000 คือ การฝังระบบการบริหารงานคุณภาพไว้ภายในองค์กร เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมถึงสร้างความมั่นใจในคุณภาพของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ขององค์กร
ISO 9001: 2008 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจและองค์กรต่างๆในทุกภาคธุรกิจ และด้วยการบริหารเชิงมุ่งเน้นกระบวนการทำ ให้ ISO 9001 สามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรผู้ให้บริการได้เป็นอย่างดีเช่นกัน แนวทางทั่วไปของ ISO 9001 มีความยืดหยุ่นและ สามารถตอบรับกับโลกธุรกิจที่มีความหลากหลายอย่างมากในทุกวันนี้ได้
ISO 9000 ทำงานอย่างไร
ISO 9000 ถูกจัดทำเป็นชุดแนวทางที่ช่วยให้บริษัทสามารถ จัดตั้ง คงรักษา และปรับปรุงระบบการบริหารงานคุณภาพ เป็นสิ่ง สำคัญที่ต้องเน้นย้ำว่ามาตรฐาน ISO 9000 ไม่ได้เป็นเพียงชุดข้อกำหนดที่เข้มงวด และองค์กรจะมีความยืดหยุ่นในการนำระบบ การบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร ความมีอิสระนี้เองที่ช่วยให้มาตรฐาน ISO 9000 สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หนึ่งในแง่มุมที่สำคัญของ มาตรฐาน ISO 9000 คือ การบริหารเชิงมุ่งเน้นกระบวนการ แทนที่จะมองที่หน่วยงานต่างๆของบริษัท และกระบวนการของแต่ละ ส่วนงาน ISO 9000 กำหนดให้บริษัทต้องมองที่ “ภาพรวม” ขององค์กร นั่นคือกระบวนการต่างๆ สัมพันธ์กันอย่างไร สามารถ นำไปควบรวมกันได้หรือไม่? ประเด็นหรือแง่มุมที่สำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการมีอะไรบ้าง?
เมื่อการบริหารเชิงมุ่งเน้นกระบวนการได้ถูกนำไปปฏิบัติ การตรวจประเมินต่างๆ ก็จะสามารถถูกดำเนินการเพื่อเป็นการตรวจสอบ ประสิทธิผลของระบบการบริหารงานคุณภาพของท่าน ทั้งนี้การตรวจประเมินแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ การตรวจ ประเมินโดยบุคคลที่ 1, 2, และ 3 การตรวจประเมินภายในถือเป็นการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 1 (1st party audit) ISO 9000 ส่งเสริมให้ (และกำหนดให้) ต้องมีการดำเนินการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 1 เพื่อให้องค์กรได้รับทราบผลตอบรับได้อย่าง
รวดเร็วจากผู้ที่รู้จักบริษัทดีที่สุด อย่างไรก็ตามกระบวนการตรวจประเมินนี้จะไม่สามารถถือว่ามีความเป็นกลางได้ ด้วยเหตุนี้จึงมี การตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 2 เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กรหนึ่งๆได้ ในฐานะที่การ ตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 2 เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจ บริษัทโดยส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ผ่านการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 3 ในกรณีนี้หน่วยรับรองอิสระจะเข้ามาในองค์กรและประเมินผลในแง่มุมตามแนวทาง มาตรฐาน ISO 9000 หากองค์กรดำเนินงานโดยเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน องค์กรนั้นก็จะได้รับการรับรองตาม มาตรฐาน ISO 9000 และได้รับและสามารถใช้ตราเครื่องหมายแห่งคุณภาพที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ISO 9000 มีความสำคัญอย่างไร
ความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000 คือ ความสำคัญของคุณภาพ หลายบริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ แต่บริษัทที่เสนอ ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและการบริการที่มีประสิทธิภาพคือผู้ที่จะประสบความสำเร็จ ด้วยมาตรฐาน ISO 9000 องค์กรหนึ่งๆ สามารถที่ จะระบุชี้บ่งรากของปัญหา และหาทางแก้ปัญหาได้ และด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำให้ได้มาซึ่งผลกำไรสูงสุด
เนื่องด้วยความหลากหลายของบริษัทที่ประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 9000 ห่วงโซ่อุปทานที่มีบูรณภาพจึงเกิดขึ้น แต่ละบริษัทที่มี ส่วนร่วมในขั้นตอนของการพัฒนา การผลิต และการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ต่างรู้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่เชื่อถือและไว้ วางไจได้ซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับสากล
ไม่เพียงแต่บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจเท่านั้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000 หากแต่หมายรวมถึงลูกค้าที่ก็ตระหนัก ถึงความสำคัญของคุณภาพเช่นกัน และเนื่องจากผู้บริโภคคือผู้ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับแต่ละบริษัท ISO 9000 จึงเป็นเสมือน ช่วยในการสนองตอบต่อการให้ความสำคัญกับคุณภาพนั้น
หลักการของมาตรฐาน ISO 9000 มีอะไรบ้าง
1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า
ดังที่ได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว ลูกค้าคือสิ่งแรกๆ ที่แต่ละบริษัทต้องมุ่งให้ความสำคัญ และด้วยการทำความเข้าใจและ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า องค์กรหนึ่งๆ ก็จะสามารถกำหนดเป้าหมายหลักได้อย่างถูกต้อง และนั่นเองจึงช่วยเพิ่ม รายได้ให้แก่องค์กรเนื่องจากสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้ากำลังมองหาและตรงตามความต้องการได้ นอกจากนี้ การรู้ความต้องการของลูกค้า ก็ทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผลสูงสุด และสิ่งสำคัญ ที่สุด คือ การทุ่มเททางธุรกิจขององค์กรจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า ซึ่งช่วยสร้างความภักดีของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และ ความภักดีของลูกค้านี่เองที่จะส่งผลดีกลับมายังธุรกิจขององค์กร
2. ความเป็นผู้นำที่ดี
ทีมของผู้นำที่ดีจะสร้างความเป็นเอกภาพและทิศทางได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เป้าหมายของผู้นำคือการ กระตุ้นและผลักดันผู้ที่ร่วมทำงานในโครงการทุกคน และผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะสามารถลดการสื่อสารที่ผิดพลาดทั้งภายใน และระหว่างหน่วยงานต่างๆลงได้อย่างมาก บทบาทของพวกเขาจะสัมพันธ์กับหลักการของมาตรฐาน ISO 9000 ในข้อถัดไป
3. ความผูกพันที่มีต่อองค์กรของบุคลากร
การร่วมมือกันของทุกคนในทีมงานด้านธุรกิจคือปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร การมีส่วนร่วมในส่วนสำคัญนี้จะนำไปสู่การ ลงทุนในเรื่องทรัพยากรบุคคลในโครงการ และในทางกลับกันก็เป็นสร้างผู้ทำงานหรือคนงานที่มีความมุ่งมั่นและแรงจูงใจ และ บุคลากรเหล่านี้จะมุ่งมั่นในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ และองค์กรย่อมจะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถทั้งหมดที่มีของ พวกเขาในการดำเนินโครงการหนึ่งๆให้สัมฤทธิ์ผล หากบุคลากรขององค์กรให้ความใส่ใจในเรื่องสมรรถนะการทำงาน พวกเขา ก็จะมีความกระตือรือร้นในการที่จะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามที่ ISO 9000 ได้ให้แนวทางไว้
4. การบริหารเชิงกระบวนการในจัดการด้านคุณภาพ
ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกิจกรรมและทรัพยากรต่างๆได้ถูกบริหารจัดการร่วมกันอย่างดี กลวิธีการบริหารเชิง กระบวนการในระบบการบริหารงานคุณภาพนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ด้วยการใช้ทรัพยากร บุคลากร และเวลาอย่างมี ประสิทธิผล หากกระบวนการหนึ่งๆถูกควบคุมโดยรวม การบริหารจัดการก็จะสามารถมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่มีความสำคัญต่อ
ภาพรวมขององค์กร และสามารถจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
5. การบริหารจัดการเชิงระบบ
การควบรวมการบริหารจัดการต่างๆเข้าด้วยกัน อาจดูเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง แต่หากเราสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง จะ ส่งผลให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากผู้นำมีความมุ่งมั่นทุ่มเทต่อเป้าหมายขององค์กร พวก เขาจะช่วยเหลือกันเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและดีขึ้น ผลลัพธ์ดังกล่าวหมายรวมถึงการบูรณาการและการจัดวางตำแหน่งที่ เหมาะสมของกระบวนการที่สำคัญต่างๆ นอกจากนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะรับรู้และยอมรับในความสอดคล้องคงที่ ความมี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับระบบการบริหารจัดการ อีกทั้ง supplier และลูกค้าก็จะเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นใน ความสามารถทางธุรกิจขององค์กรอีกด้วย
6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของหลักการนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรถือเป็นวัตถุประสงค์ถาวรของทุกองค์กร ด้วยสมรรถนะการทำงานที่เพิ่มขึ้น บริษัทย่อมจะสามารถเพิ่มผลกำไรและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากธุรกิจทั้งหมดมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง กิจกรรมการปรับปรุงต่างๆจะถูกจัดวางอย่างเหมาะสม อันนำไปสู่การพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น
การมีความพร้อมสำหรับการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจของท่านจะมีความยืดหยุ่นในการที่จะตอบสนองต่อโอกาสใหม่ๆ ที่เข้ามาได้อย่างรวดเร็ว
7. การตัดสินใจตามหลักฐานเชิงประจักษ์
การตัดสินใจที่มีประสิทธิผลจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และการแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ด้วยการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐาน ของข้อมูลดังกล่าว องค์กรจะสามารถดำเนินการตัดสินใจต่างๆได้อย่างถูกต้องกว่า หากบริษัทต่างๆกระทำการดังนี้ให้เป็นกิจวัตร พวกเขาก็จะสามารถแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการตัดสินใจต่างๆที่ผ่านมาในอดีตได้ นี่เองที่จะสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจ ในการตัดสินใจต่างๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต
8. ความสัมพันธ์กับผู้ขาย/ผู้ส่งมอบ
เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ก่อประโยชน์ร่วมกับผู้ขาย/ผู้ส่งมอบ เนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวจะสร้างมูลค่า ให้กับทั้งสองฝ่าย ผู้ขาย/ผู้ส่งมอบที่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ก่อประโยชน์ร่วมกันจะตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อใดก็ตามที่มี ความต้องการทางธุรกิจที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือการเปลี่ยนแปลงของตลาด ด้วยการติดต่อสื่อสารกัน อย่างใกล้ชิดและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขาย/ผู้ส่งมอบ ทั้งสององค์กรจะสามารถใช้ทรัพยากรและต้นทุนได้อย่างเกิดประโยชน์ สูงสุด
เหตุใดการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและการปฏิบัติการแก้ไขอย่างเป็นระบบ จึงเป็นสิ่งสำคัญในมาตรฐานระบบการบริหารจัดการต่างๆ เช่น ISO 9001?
ในการแก้ไขปัญหา การหาสาเหตุของปัญหาคือสิ่งสำคัญในอันที่จะให้ได้มาซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสม ใน บางครั้ง สาเหตุที่เราเห็นชัดเจนที่สุดก็ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดปัญหา นี่คือเหตุผลที่ทำให้ ISO 9000 เน้นให้ ความสำคัญกับการหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งอาจมีหลายเหตุผลที่ลึกซึ้งว่าเหตุใดกระบวนการทำงานหนึ่งๆ จึงไม่ได้ถูก ดำเนินการไปอย่างถูกต้อง และการหาสาเหตุที่เกิดขึ้นจริงก็จะนำทางองค์กรไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาและการดำเนินการ ปฏิบัติการแก้ไข
เป้าหมายของการหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา คือ เพื่อปรับปรุงวิธีที่ใช้ในการจัดการกับปัญหา การทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ของปัญหาจะนำไปสู่ผลกระทบที่ลดลง การควบคุมข้อผิดพลาดและการป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ นอกจากนี้ การระบุชี้บ่งและแก้ไข สาเหตุที่แท้จริงของปัญหายังจะนำไปสู่การลดลงของความพยายามที่ไม่จำเป็นซึ่งผลที่ได้กลับมาคือค่าใช้จ่ายที่ลดลงในการคง รักษาคุณภาพ และเมื่อการปฏิบัติการแก้ไขได้ถูกดำเนินการมากขึ้นและมากขึ้น กระบวนการต่างๆก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น และ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องก็จะมีข้อขัดข้องหรืออุปสรรคน้อยลง
ISO 9000 สัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานอื่นๆอย่างไร?
ISO 9000 เป็นมาตรฐานสำหรับระบบการบริหารงานคุณภาพที่คล้ายคลึงกับระบบการจัดการอื่นๆ อีกมากมาย ระบบอื่นๆดังกล่าว ที่อยู่บนพื้นฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ สามารถถูกนำมาควบรวมเข้ากันได้เพื่อให้ เป็นระบบการจัดการทางธุรกิจที่ครอบคลุมหลายแง่มุม ประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมระบบนี้หมายรวมถึงผลประโยชน์ที่ได้ สอดคล้อง ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น หากองค์กรได้มีการจัดทำระบบหนึ่งระบบใดดังกล่าวข้างต้นแล้ว การ นำระบบการจัดการอื่นๆมาปฏิบัติก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น เนื่องจากเอกสารจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานอื่นๆที่แตกต่างได้ถูก จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งบุคลากรก็มีความคุ้นเคยกับกระบวนการตรวจประเมินอยู่แล้ว การประยุกต์ใช้มาตรฐานที่ หลากหลายไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรเท่านั้น หากแต่ยังเพิ่มความครบถ้วนสมบูรณ์ของการดำเนินงานของ องค์กรอีกด้วย
ISO 9000 มีความหมายต่อฉันและองค์กรของฉันอย่างไร
ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการได้มาซึ่งคุณภาพและผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้อง โดย ISO 9000 ได้ให้ขั้นตอนที่ เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดทำและพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพขององค์กรหนึ่งๆ ระบบการจัดการคุณภาพนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อที่จะเฝ้าตรวจติดตามความคืบหน้า/ความก้าวหน้าของสินค้าหรือบริการในขณะที่สินค้าหรือบริการนั้นๆอยู่ในแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การพัฒนา การทดสอบ การประกอบ ไปจนถึงการรับข้อมูลตอบกลับจากลูกค้า (feedback)
หนึ่งในรากฐานสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000 คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แต่ละบริษัทไม่ควรที่จะพึงพอใจกับสภาพหรือ สภาวะของกระบวนการใดๆ เท่าที่ได้รับ ณ ช่วงเวลานั้นๆ แต่ละบริษัทควรมองหาวิธีที่จะทำให้กระบวนการนั้นมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากขึ้น ISO 9000 ถูกเขียนขึ้นโดยคำนึงถึงความต้องการในเรื่องความเป็นเลิศที่ไม่มีที่สิ้นสุดในโลกธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ – เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในเรื่องความก้าวหน้าและการแสวงหาความ สมบูรณ์แบบ
ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และอาจดูน่ากลัวสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และอาจมีคำถามว่าธุรกิจ ขนาดเล็กจะใช้มาตรฐานเดียวกันกับที่องค์กรหรือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ใช้ได้อย่างไร? คำตอบคือ จริงๆแล้วค่อนข้าง ง่ายดายมาก เนื่องจาก ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่มีความยืดหยุ่นที่แม้ว่าจะได้กำหนดข้อกำหนดต่างๆให้องค์กรต้องปฏิบัติตาม แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสและอนุญาตให้องค์กรสามารถที่จะดำเนินการให้บรรลุถึงข้อกำหนดเหล่านั้นด้วยวิธีการหรือ วิถีทางที่พวกเขาเลือกเอง นี่เองที่เพิ่มขอบเขตประสิทธิผลของมาตรฐาน ISO 9000 ซึ่งช่วยให้บริษัทที่มีความแตกต่างและ หลากหลายสามารถที่จะสร้างระบบการบริหารงานคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของพวกเขาได้
มาตรฐาน ISO 9000 สามารถพบเห็นได้ในทุกภาคส่วนของโลกธุรกิจ และการประสบความสำเร็จเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าของ ISO 9000 ด้วยการมุ่งให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆจะถูกปรับปรุงและพัฒนาให้ดี ยิ่งๆขึ้นภายใต้ระบบการบริหารงานคุณภาพมาตรฐาน ISO 9000 ด้วยการผสมผสานกันของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการ ปฏิบัติการแก้ไข – หลักการของมาตรฐาน ISO 9000 – องค์กรใดๆจะสามารถสร้างกระบวนการที่ทำงานได้อย่างราบรื่นและมี ประสิทธิภาพ
ISO 9000 จะมีประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดเล็กของฉันอย่างไร
รากฐานที่ดีย่อมสร้างธุรกิจที่ดี และ ISO 9000 ถือเป็นรากฐานที่ดีรากฐานหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการขยายตลาดของ พวกเขา ด้วยการแนะนำระบบการบริหารงานคุณภาพ เช่น มาตรฐาน ISO 9000 ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก คุณภาพของกระบวนการ ต่างๆจะเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขาดประสิทธิภาพจะลดลง นอกจากนี้ธุรกิจขนาดเล็กยังจะสามารถใช้การได้รับการ รับรองมาตรฐานระบบ ISO 9000 ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลนี้ในการโฆษณาธุรกิจของตนเองได้อีกด้วย ซึ่งนี่อาจช่วยสร้าง
โอกาสทางธุรกิจที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ การที่ธุรกิจขนาดเล็กมีระบบการบริหารจัดการ เช่น ISO 9000 จะสามารถมีส่วน ช่วยเมื่อต้องมีการขายธุรกิจ ความครบถ้วนสมบูรณ์และมูลค่าของธุรกิจขนาดเล็กจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากกระบวนการ ที่ถูกจัดทำเป็นเอกสารอย่างดี และหลักฐานของคุณภาพ ISO 9000 จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของธุรกิจของท่านไม่ ว่าในสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม
(248) 358-3388
Call PJR Today!