• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to footer
  • United States
  • India
  • Italy
  • Japan
  • Mexico
  • China
  • United Kingdom
PJR Thailand

PJR Thailand

ISO Registration Company

FREE Quote

(248) 358-3388

Call PJR Today!
Facebook
  • Home
  • About PJR
    • What Is Certification?
    • Accreditations
    • PJR Advantages
    • Why Choose PJR?
    • Client Testimonials
    • Small Business Program
    • PJR Clients
    • Transitioning Standards
    • PJR Code of Ethics
  • Standards
    • Automotive
      • ISO 9001
      • IATF 16949
    • Quality
      • ISO 9001
      • ISO 37001
      • BA 9000
    • Aerospace
      • AS9100
      • AS9110
      • AS9120
    • Environmental Health & Safety
      • ISO 45001
      • ISO 14001
      • Responsible Recycling R2v3
        • R2 Comparison
        • PJR R2 Clients
      • e-Stewards
    • Cybersecurity
      • ISO 27001
        • ISO 27001 Key Terms
        • The ISO/IEC 27001 family
      • ISO 20000-1
    • Food Safety
      • FSSC 22000
        • Food Safety Comparison
      • ISO 22000
    • Medical
      • ISO 13485
      • ISO 9001
  • FAQs
  • News
  • Webinars
    • Past Webinar Slides
  • Contact Us
    • PJR Worldwide Offices
    • Free Quotation
    • Free Information
    • PJR Promotional Items
    • PJR Feedback Form
    • Lodge a Complaint

Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) — ทำไมจึงจำเป็นต้องคิดถึง R2?

คุณเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์เครื่องเก่าของคุณที่คุณได้โยนมันทิ้งไปหรือบริจาคให้กับผู้ขายที่เก็บรวบรวมวัสดุแบบฟรีๆ หรือหากคุณเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องทดลองวิจัย หรือธุรกิจการจัดการของเสีย/ธุรกิจรีไซเคิล คุณเคยคิดถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมบ้างหรือไม่?

ณ ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 300-400 ล้านชิ้นต่อปี – และขยะเหล่านั้นต้องไปอยู่ที่ไหนสักแห่ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากถูกส่งไปฝังกลบหรือถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย หรือไนจีเรีย ด้วยคาดหวังว่าจะถูกนำไปรีไซเคิล แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากกลับได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม และถูกปล่อยทิ้งจนเป็นอันตรายต่อผู้คนในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดมหึมาที่เรากำลังประสบอยู่ทั่วโลกอาจก่อให้เกิดหายนะในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก อีกทั้งยังมีการรายงานอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกรณีการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลหรือการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไม่ถูกต้อง ความรู้ทางเทคนิค ข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติจึงมีความจำเป็นเพื่อให้มีการป้องกันการเข้าถึงหรือกู้คืนข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ เริ่มมีความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการรีไซเคิล การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการรักษาความลับของข้อมูล มาตรฐานสำหรับการจัดการประเด็นท้าทายด้านการรีไซเคิลสินค้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มาตรฐาน Responsible Recycling หรือที่เรียกกันว่า R2 ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่นที่สาม มาตรฐาน R2 ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการรีไซเคิลและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ มาตรฐานการรับรอง R2 เป็นหลักการปฏิบัติและแนวทางโดยสมัครใจ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมและประเมินวิธีปฏิบัติและการปฏิบัติงานสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐาน R2v3 ระบุให้ต้องมีการนำระบบการบริหารจัดการไปปฏิบัติสำหรับกำกับดูแลการดำเนินการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนงาน รวมถึงการบริหารจัดการขั้นปลายของซากวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมาตรฐานนี้จะครอบคลุมถึงข้อบังคับทางกฎหมายของผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่าที่ไปแทนที่ข้อบังคับดังกล่าว นอกจากนี้ มาตรฐาน R2v3 ให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) มากกว่ากระบวนการปรับปรุงฟื้นฟู (Recovery)หรือกำจัดทำลาย (Disposal) ในความมุ่งมั่นพยายามในระดับโลกในอันที่จะลดปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมการทดสอบที่ได้มาตรฐาน รวมถึงระเบียบมาตรฐานด้านการจัดระดับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องตรงกันในภาคอุตสาหกรรม

ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐาน R2 เวอร์ชันก่อนหน้า มาตรฐาน R2 เวอร์ชัน R2v3 นี้ให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคผ่านการควบคุมความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพิ่มน้ำหนักให้กับข้อกำหนดต่างๆในการปกป้องวัสดุต่างๆจากผู้จำหน่ายปลายน้ำ และอธิบายข้อกำหนดและความคาดหวังให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น มาตรฐาน R2v3 ตระหนักดีว่าอาจมีวิธีที่มีประสิทธิผลมากกว่าหนึ่งวิธีในการที่จะบรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์มากกว่าการกำหนดวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง

ประโยชน์ที่สำคัญของการนำไปปฏิบัติและการได้รับการรับรองตามมาตรฐาน R2v3

  • สนับสนุนและส่งเสริมความปลอดภัยและการฟื้นฟูที่มีประสิทธิผล รวมถึงการใช้ซ้ำ (reuse) วัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม
  • ให้แม่แบบสำหรับการติดฉลากที่ได้มาตรฐาน ข้อกำหนดด้านการทดสอบ และการจัดระดับทั้งด้านหน้าที่การทำงานและสภาพความสวยงามของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่หรือตลาดขายต่อที่ได้รับการรับรอง
  • หน้าที่ความรับผิดชอบและการควบคุมปลายน้ำของห่วงโช่อุปทานของห่วงโซ่การรีไซเคิล
  • ลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย
  • แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับกฎหมายทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
  • ลดภาระรับผิดชอบ และลดภาระค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิล
  • ช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM’s) ด้วยความระมัดระวัง สำหรับซากวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณะผ่านการทบทวนโดยบุคคลที่สามที่ได้รับการรับรอง

มาตรฐาน R2v3 มิได้มีไว้เพียงเพื่อสำหรับผู้คนเท่านั้น หากแต่สำหรับสิ่งแวดล้อมด้วย คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ว่าการรับรอง R2v3 สามารถช่วยให้กระบวนการของคุณคล่องตัวขึ้นและเพิ่มชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของคุณได้อย่างไร – ติดต่อ PJR วันนี้!


การเปลี่ยนผ่านของมาตรฐาน R2v3

สำหรับบริษัทที่มีใบรับรอง R2 อยู่แล้ว การเปลี่ยนผ่านไปสู่มาตรฐาน R2v3อยู่ในระหว่างดำเนินการ – และ PJR ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ! ผ่านการสัมมนาออนไลน์ตามตารางกำหนดการและการถาม & ตอบ รวมถึงเอกสารข้อมูลที่ดาวน์โหลดได้และการฝึกอบรมอื่นๆ การเปลี่ยนผ่านของคุณนั้นจะรวดเร็วและง่ายดายด้วยข้อได้เปรียบต่างๆของ PJR ใบรับรอง R2:2013 จะมีผลใช้บังคับได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.2023 – ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลของเราและพร้อมก้าวไปข้างหน้าในวันนี้!

Quote-Button

sidebar

Page Sidebar

PJR Email Updates

To receive news and website updates, please enter your email below.

What Our Clients Are Saying

Your office staff and auditors are great to work with and are very helpful.
Gary McDonaldCor-Ray Painting Co.
We are very comfortable working with PJR and would recommend them to anyone looking to become ISO certified.
John Kneeland Jr.Kinefac Corporation
Overall I am very happy with PJR as an auditing firm and look forward to continuing our business.
Peter HladunCork Supply USA
We feel that PJR is a wonderful organization to work with!
Terry O. BrooksIndustrial Electroplating Co., Inc.
PJR’s guidance and constant supply of information eliminated all guess work and insecurity for Enameled Steel.
Garth DaviesEnameled Steel & Sign Co.

Webinars


  • Upcoming Webinars
  • Previously Recorded Webinars
  • Past Webinar Slides

PJR News


  • Perry Johnson Registrars, Inc. Announces ISO 50001 Certification Offering
  • PJR World Standards Review – Winter 2022-2023 Newsletter
  • Perry Johnson Registrars, Inc. Announces ETU ISO 9001:2015, ISO 27001:2013 Certification and ISO 27701:2019 Certificate of Conformance
  • Click for more…

Footer

PJR Email Updates:

To receive news and website updates, please enter your email below.

About PJR:

  • About Us
  • PJR Advantages
  • Why Choose PJR?
  • Accreditations
  • FAQs

Free Information:

  • Free Quote
  • Free Information
  • Registration Document Download

Sales Office:

140 One Pacific Place, 15th Floor,
Room 1503 Sukhumvit Road, Klongtoey, Bangkok 10110

Tel: 0-2653-2277
Fax: 0-2653-2278
Email: info@pjr.co.th

World Headquarters:
755 W. Big Beaver Rd., Suite 1340
Troy, MI 48084 United States
Phone: (248) 358-3388
Email: pjr@pjr.com

Copyright ©2018 PERRY JOHNSON REGISTRARS, INC. | All Rights Reserved